ความสำคัญของป้ายบอกทางในธุรกิจโรงพยาบาล

ป้ายบอกทาง (Wayfinding Signs) ในโรงพยาบาล มีความสำคัญและความหมายอย่างยิ่งยวดกว่าเครื่องหมายบอกทิศทางทั่วไป

การที่ผู้ป่วย หรือลูกค้าสามารถมองเห็นป้ายบอกทางได้ชัดเจน จะสามารถสร้าง ความไว้วางใจ ความพึงพอใจ ความสวยงาม ให้กับทุกฝ่าย รวมไปถึงชีวิตของผู้ป่วย

ผู้ที่มาใช้บริการโรงพยาบาล ส่วนมากแล้วจะมีความเครียด และความวิตกกังวลในการรักษาอยู่ไม่มากก็น้อย การออกแบบป้ายบอกทางในโรงพยาบาลที่ดีจะช่วยลดความวิตกกังวล และสร้างความสะดวกรวดเร็วต่อผู้ใช้บริการได้

วันนี้ 𝗗𝗶𝗴𝗶𝘃𝗶𝗲𝘄 & 𝗠𝗼𝗿𝗲 มีวิธีการปรับปรุงและออกแบบป้ายบอกทางในโรงพยาบาลมาฝากกันค่ะ

1.สะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์ของคุณ (Reflect Your Branding)
มีตัวเลือกในอุตสาหกรรมและธุรกิจทางการแพทย์มากมายตั้งแต่ ร้านขายยา คลินิก โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลเฉพาะทาง คุณสามารถสื่อสารธุรกิจของคุณ ทั้ง Mission และคุณค่า ด้วยเอกลักษณ์ของแบรนด์ หรือองค์กรผ่านป้ายต่างๆ

ตัวอย่างเช่น สถานพยาบาลรด้านกุมารเวชศาสตร์ อาจจะใช้ป้ายสีสันสดใส หรือสัญลักษณ์ที่ผู้ป่วยของคุณที่เป็นเด็ก เข้าใจง่ายกว่าผู้ใหญ่

การสร้างแบรนด์ผ่านป้ายต่างๆ ในโรงพยาบาล โดยเฉพาะป้ายบอกทางที่มีจำนวนมาก สามารถสร้างการจดจำแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

2.ยกระดับประสบการณ์ของผู้ป่วย หรือลูกค้า (Enhance the Patient’s Experience)
ผลการวิจัยอารมณ์ของผู้ที่เดินทางไปพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาล ส่วนมากมีสภาวะตึงเครียดและกังวล ป้ายบอกทางที่ดีจะเป็นมากกว่าการนำทางผู้ป่วยจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

โรงพยาบาลต้องการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าหรือผู้ป่วย ด้วยป้ายบอกทางที่ชัดเจน และรัดกุม ทำให้ผู้ป่วยลดความกังวล และสร้างความมั่นใจในการเดินหาสถานที่ในโรงพยาบาล ด้วยป้ายบอกทาง

3.ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างประสบการณ์นี้ (Keep Everyone Engaged)
หากคุณต้องการสร้างป้ายบอกทางที่มีประสิทธิภาพ คุณต้องทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกแบบป้าย เช่นประสบการณ์จริงในการใช้งาน หรือสอบถามพนักงานและบุคลากรของคุณว่า ผู้ป่วยหรือลูกค้ามักหาสถานที่ใดไม่เจอมากที่สุด รวมถึงการอบรมพนักงานให้มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับสถานที่นั้น

4.ออกแบบโดยคำนึงถึงความสม่ำเสมอและความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Design With Consistency and Flexibility In Mind)
การออกแบบ ติดตั้งป้ายบอกทาง ควรคำนึงถึงอนาคตเช่นการขยายพื้นที่ และอย่าใช้รูปแบบ หรือสีที่กำลังนิยมในปัจจุบันเป็นเกณฑ์การออกแบบ เพราะอีกไม่กี่ปีข้างหน้า องค์ประกอบการออกแบบเหล่านั้นอาจไม่ได้รับความนิยมอีกก็เป็นได้

ทางที่ดี คุณควรออกแบบป้ายบอกทางที่สอดคล้องกับแบรนด์ของคุณ ด้วยการเลือกสีและแบบอักษรที่ให้เข้ากับการออกแบบของสถานพยาบาล ด้วยหลักการนี้จะทำให้การติดตั้งป้ายบอกทางในโรงพยาบาลจะได้รับการใช้งานไปอีกหลายสิบปี

5.คิดถึงความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมในพื้นที่ของคุณ (Think About Cultural Sensitivity)
อีกจุดที่ต้องคำนึงถึง เมื่อต้องการติดตั้งป้ายบอกทางในโรงพยาบาล คุณต้องการสร้างการออกแบบที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ หากคุณมีสถานพยาบาลในพื้นที่ที่รองรับประชากรที่หลากหลาย เช่นพื้นที่ที่มีความต่างชาติเยอะ

ทุกชนชาติจะต้องอ่านข้อมูลได้ชัดเจน แม้เราจะไม่สามารถวางทุกภาษาบนป้ายบอกทางได้ แต่การออกแบบ Icon หรือรูปกราฟิกแบบเป็นสากล ที่จะสามารถช่วยให้คนหลากหลายเข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามฉุกเฉิน หรือด้านสี สำหรับโรงพยาบาลด้านจักษุแพทย์ อาจจะต้องคำนึงถึงผู้ป่วยตาบอดสี ที่สามารถมองเห็นป้ายบอกทางได้อีกด้วย

6.การบำรุงรักษาก็สำคัญ (Make Maintenance a Priority)
การออกแบบป้ายบอกทางที่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือทำความสะอาดได้ง่าย ก็เป็นเรื่องสำคัญเมื่อสถานที่หรือชื่อสถานที่เปลี่ยนไป คุณจึงจำเป็นต้องมีระบบในการอัปเดตป้ายบอกทางของคุณได้ตลอดเวลา

ป้ายบอกทางช่วยให้ผู้ป่วย หรือลูกค้าของคุณสามารถไปยังจุดหมายทุกที่ในโรงพยาบาลด้วยความสะดวก การออกแบบป้ายบอกทางที่ดียังจะช่วยลดความสับสนและช่วยบรรเทาความเครียดของผู้ป่วยได้อีกทางหนึ่งค่ะ

เพราะการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อาจไม่ได้เจาะจงเฉพาะในโลกของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น

Digiview&More รับผลิต ติดตั้งป้ายทาวเวอร์ หรือป้ายไพลอน (Tower-Pylon Sign) ป้ายตั้งเสา ป้ายอาคาร ป้ายกล่องไฟ ป้ายหน้าบริษัท โรงงาน ปั๊มน้ำมัน ร้านค้า ฯลฯด้วยโครงสร้างที่แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ เรายินดีให้บริการทั่วประเทศ โดยทีมงานช่างมืออาชีพ
ดูผลงานของเราเพิ่มเติม ที่นี่

ป้ายบอกทาง โรงพยาบาล ป้ายบอกทางอาคาร ป้ายบอกทาง โรงพยาบาล ป้ายบอกทางอาคาร ป้ายบอกทาง โรงพยาบาล ป้ายบอกทางอาคาร ป้ายบอกทาง โรงพยาบาล ป้ายบอกทางอาคาร

มาร่วมสร้างธุรกิจของคุณให้โดดเด่น และน่าเชื่อถือกับเรา

E-mail: contact@digiviewandmore.co.th
Line id : @digiview